วันพฤหัสบดีที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2562

การใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย

หลักการใช้อินเตอร์เน็ตอย่างปลอดภัย


อินเตอร์เน็ตมีบทบาทต่อชีวิตประจำวันของเราเป็นอย่างมาก เพราะเป็นช่องทางสื่อสารเเละเเลกเปลี่ยนข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังสะดวกสบายต่อเรามาก รวมถึงธุรกิจห้างร้านที่ต้ิองใช้งานในการค้าขาย ใช้ธุรกรรมการเงินทางอินเตอร์เน็ต เเต่ถ้าเราใช้อย่างไม่ระวังเเละยังไม่เห็นความสำคัญ ของการใช้อินเตอร์เน็ตที่ปลอดภัยก็จะเกิดภัยคุกคามต่างๆได้เช่น โดนโจรกรรมข้อมูลส่วนตัวเพื่อขโมยเงินทางอินเตอร์เน็ตได้ หรือถูกหลอกลวงเกี่ยวกับการค้า่ เป็นต้น จากที่กล่าวมาเราสามารถป้องกันปัญหาเหล่านี้ได้ ดังนี้


1.) ไม่ควรเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว


2.) ไม่ส่งหลักฐานส่วนตัวของตนเองเเละคนในครอบครัวให้ผู้อื่น เช่น สำเนาบัตรประชาชน เอกสารต่างๆ รวม ถึงรหัสบัตรต่างๆ เช่น เอทีเอ็ม บัตรเครดิต

3.) ไม่ควรโอนเงินให้ใครเด็ดขาด นอกจา่กจะเป็นญาติสนิทที่เชื่อใจได้จริงๆ
  
4.) ไม่ออกไปพบเพื่อนที่รู้จักทางอืนเทอร์เน็ต เว้นเสียเเต่ว่าได้รับอนุญาตจากผู้ปกครอง เเละควรมีผู้ใหญ่หรือเพื่อนไปด้วยหลายๆคน เพื่อป้องกันการลักพาตัว หรือการกระทำมิดีมิร้ายต่างๆ

5.) ระมัดระวังการซื้อสินค้าทางอืนเตอร์เน็ต รวมถึงคำโฆษณาชวนเชื่ออื่นๆ เด็กต้องปรึกษาพ่อเเม่ผู้ปกครอง โดยต้องใช้วิจารณญาณ พิจารณาความน่าเชื่อถือของผู้ขาย



6.) สอนให้เด็กบอกพ่อเเม่ผู้ปกครองหรือคุณครู ถ้าถูกกลั่นเเกล้ง (Internet Bullying)



7.) ไม่เผลอบันทึกยูสเซอร์เนมเเละพาสเวิร์ดขณะใช้เครื่องคอมพิวเตอร์สาธารณะ

อย่าบันทึก! ชื่อผู้ใช้เเละพาสเวิร์ดของคุณบนเครื่องคอมพิวเตอร์ อย่างเด็ดขาด เพราะผู้ที่มาใช้เครื่องต่อจากคุณสามารถล็อคอินเข้าไป จากชื่อของคุณที่ถูกบันทึกไว้ เเล้วสวมรอยเป็นคุณ หรือเเม้เเต่โอนเงินในบัญชีของคุณจ่ายค่าสินต้าเเละบริการต่างๆ ที่เขาต้องการ ผลคือคุณอาจหมดตัวเเละล้มละลายได้



8.) ไม่ควรภาพวิดีโอ หรือเสียงที่ไม่เหมาะสมบนคอมพิวเตอร์ หรือบนมือถือ

เพราะภาพ เสียง หรือวิดีโอนั้น รั่วไหลได้ เช่นจากากรเคร็กข้อมูล หรือถูกดาวน์โหลดผ่านโปรเเกรม เพียร์ ทู เพียร์ (P2P) เเละถึงเเม้ว่าคุณจะลบไฟล์นั้นออกไปจากเครื่องเเล้ว ส่วนใดส่วนหนึ่งของไฟล์ยังตกค้างอยู่ เเล้วอาจถูกกู้กลับขึ้นมาได้ โดยช่างคอม ช่างมือถือ



9.) จัดการกับ Junk Mail จังค์ เมล์ หรือ อีเมล์ขยะ

ปกติ การใช้อีเมล์จะมีกล่องจดหมายส่วนตัว Inbox กับ กล่องจดหมายขยะ Junk mail box หรือ Bulk Mail เเยกเเยะประเภทของอีเมลล์ เราจึงต้องทำความเข้าใจ เเละเรียนรู้ที่จะคัดกรองจดหมายอิเล็กส์ด้วยตัวเอง เพื่อกันไม่ให้มาปะปนกับจดหมายดีๆ ซึ่งเราอาจเผลอไปเปิดอ่าน เเล้วถูกสปายเเวร์ เเอดเเวร์เกาะติดอยู่บนเครื่อง หรือเเม้เเต่ถูกไวรัสคอมพิวเตอร์เล่นงาน



10.) จัดกา่รกับเเอดเเวร์ สปายเเวร์

จัดการกับสปายเเวร์เเอดเเวร์ที่ลักลอบเข้ามาสอดส่องพฤคิกรรมการใช้เน็ตของคุณ ด้วยการซื้อโปรเเกรมหรือไปดาวน์โหลดฟรีโปรเเกรมมาดักจับเเละขจัดเจ้าเเอดเเวร์ สปายเเวร์ออกไปจากเครื่องของคุณ ซึ่งสามารถดาวน์โหลดโปรเเกรมฟรีได้เเต่เเค่มีโปรเเกรมหไว้ในเครื่องยังไม่พอ คุณต้องหมทั่นอัพเดทโปรเเกรมออนไลน์เเละสเเกนเครื่องของคุุณบ่อยๆด้วย เพื่อให้เครื่องของคุณปลอดสปาย ข้อมูลของคุณก็ปลอดภัย

โปรเเกรมล้าง เเอดเเวร์ เเละสปายเเวร์  จะใช้โปรเเกรมตัวเดียวกัน ซึ่งบางครั้งเขาอาจตั้งชื่อโดยใช้เเค่เพียงว่าโปรเเกรมล้าง เเอดเเวร์ เเต่อันที่จริง มันลบทิ้งทั้งเเอดเเวร์ เเละสปายเเวร์พร้อมๆกัน เพราะเจ้าสองตัวนี้ มันคล้ายๆกัน



11.) จัดการกับไวรัสคอมพิวเตอร์

คออมพิวเตอร์ทุกเครื่องจำเป็นต้องมีโปรเเกรมสเเกนดักจับเเละฆ่าไวรัส ซึ่งอันนี้ควรจะดำเนินการทันทีเมื่อซื้อเครื่องคอม เนื่องจากไวรัสพัฒนาเร็วมาก มีไวรัสพันธุ์ใหม่เกิดขึ้นทุกวัน เเม้จะตั้งโปรเเกรมฆ่าไวรัสไว้เเล้ว ถ้าไม่ทำการอัพเดทโปรเเกรมทางอินเทอร์เน็ต เวลาที่มีไวรัสตัวใหม่ๆ เเอบเข้ามากับอินเทอร์เน็ต เครื่องคุณก็อาจจะโดนทำลายได้



12.) ควร Block ในโปรเเกรม P2P

สำหรับผู้ชื่นชอบการดาวน์โหลดผ่านโปรเเกรมเเชร์ข้อมูล P2P ให้ระวังข้อมูลสำคัญ ไฟล์ภาพ วิดีโอส่วนตัว หรืออะไรที่ไม่ต้องการจะเปิดเผยสู่สาธารณะชน ควรบันทึกลงซีดี ดีวีดี หรือเทปไว้ อย่าเก็บไว้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ เพราะคุณอาจถูกเจาะเอาข้อมูลเหล่านี้ไปได้



13.) กรองเว็บไม่เหมาะสมด้วย Content Advisor ในอืนเทอร์เน็ต เอ็กซ์พลอเรอ

ในโปรเเกรมเว็บ บราวเซอร์อย่างอินเทอร์เน็ตเอ็กซ์พลอเรอ ก็มีการตั้งค่าคอมเทนท์ เเอดไวเซอร์ หรือฟังก์ชั่น การกรองเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมสำหรับเด็ก ซึ่งจะทำให้เด็กไม่สามารถเปิดเข้าไปในเว็บไซท์ที่มีภาพเเละเนื้อหา โป๊ เปลือย ภาษาหยาบคายรุนเเรงได้เเละยังมีการตั้งพาสเวิร์ด หรือรหัส สำหรับผู้ปกครอง เพื่อกันเด็กเข้าไปเเก้ไขการตั้งค่าของคุณ ซึ่งคุณสามารถเข้าไปปลดล็อกได้ทุกเมื่อ ถ้าคุณจำเป็นต้องเข้าเว็บไซต์บางเว็บไซต์

ที่มา : https://www.baanjomyut.com/library_3/extension-1/e_commerce/07.html

การโจมตีเครือข่ายคอมพิวเตอร์

การโจมตีทางอินเตอร์เน็ตนั้นเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาทั่วโลก ซึ่งปัจจุบันข่าวที่เกี่ยวการโจมตีในแต่ละที่ ต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่าชั่วโมงในการรับรู้และแพร่กระจายข่าวออกไป แต่ปัจจุบันผู้ใช้งานสามารถตรวจดูการโจมตีทางอินเตอร์เน็ตที่เกิดขึ้นจริงรอบโลก ในแบบเรียลไทม์ได้แล้วด้วยแผนที่จากโครงการที่ชื่อว่า Honey net ซึ่งให้ความรู้สึกเหมือนนั่งดูหนังสงครามอยู่ก็ไม่ปานเมื่อเข้าไปยังแผนที่จะพบจุดสีแดงแสดงขึ้นมาซึ่งแสดงถึงการโจมตีในพื้นที่นั้น ๆ ส่วนจุดสีเหลืองแสดงถึง honey pots หรือระบบที่ตั้งค่าเพื่อบันทึกการโจมตีที่กำลังจะมาถึง และกล่องสีดำทางด้านล่างจอแสดงข้อมูลว่า การโจมตีแต่ละที่นั้นมีที่มาจากไหน โดยข้อมูลเหล่านี้ถูกส่งออกมาจากเครือข่ายสมาชิกในโครงการ Honey net ของเซนเซอร์ honey pot ซึ่งต้องการเผยแพร่การโจมตีเหล่านี้ (สมาชิกสามารถเลือกได้ว่าต้องการเผยแพร่ข้อมูลหรือไม่ ซึ่งจะพบว่าในแถบยุโรปมีจุดสีแดงขึ้นมาสูงที่สุด เนื่องจากมีสมาชิกที่ต้องการเผยแพร่เป็นจำนวนมากกว่าแถบอื่น ๆ)


ประเภทการโจมตีในระบบเครือข่าย Internet
ประเภทการโจมตีในระบบเครือข่าย Internetการโจมตีในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
ภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ตถือได้ว่าเป็นภัยอันตรายต่อสังคมในปัจจุบันเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากภัยนี้จะเป็นการรบกวนการทำงานของผู้ที่ใช้งานคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตแล้ว ยังส่งผลเสียต่อข้อมูลสำคัญๆ ที่มีอยู่อีกด้วย
1. ชนิดของภัยคุกคามที่เกิดขึ้นบนอินเทอร์เน็ต จำแนกได้ดังนี้
                1.1 มัลแวร์ (Malware) คือความไม่ปกติทางโปรแกรมที่สูญเสียความลับทางข้อมูล (Confidentiality) ข้อมูลถูกเปลี่ยนแปลง (Integrity) สูญเสียเสถียรภาพของระบบปฏิบัติการ (Availability) ซึ่งมัลแวร์แบ่งออกได้เป็นหลายประเภท จึงขออธิบายแต่ละประเภทดังนี้
                      1.1.1 ไวรัสคอมพิวเตอร์ (Computer Virus) คือรหัสหรือโปรแกรมที่สามารถทำสำเนาตัวเองและแพร่กระจายสู่เครื่องอื่นได้ โดยเจ้าของเครื่องนั้นๆ ไม่รู้ตัว สิ่งสำคัญคือไวรัสไม่สามารถแพร่กระจายได้หากขาดคนกระทำ เช่น แบ่งปันไฟล์ที่ติดไวรัสหรือส่งอีเมล์ที่ติดไวรัส เป็นต้น
           1.1.2 หนอนคอมพิวเตอร์ (Computer Worm) เรียกสั้นๆ ว่า เวิร์ม เป็นหน่วยย่อยลงมาจากไวรัส มีคุณสมบัติต่างๆเหมือนไวรัสแต่ต่างกันที่เวิร์มไม่ต้องอาศัยผู้ใช้งาน แต่จะอาศัยไฟล์หรือคุณสมบัติในการส่งต่อข้อมูลในคอมพิวเตอร์เพื่อกระจายตัวเอง บางทีเวิร์มสามารถติดตั้ง Backdoor ที่เริ่มติดเวิร์มและสร้างสำเนาตัวเองได้ ซึ่งผู้สร้างเวิร์มนั้นสามารถสั่งการได้จากระยะไกล ที่เรียกว่า Botnet โดยมีเป้าหมายเพื่อโจมตีคอมพิวเตอร์และเครือข่าย ส่งที่อันตรายอย่างยิ่งของเวิร์ม
           1.1.3 ม้าโทรจัน (Trojan Horse) คือโปรแกรมชนิดหนึ่งที่ดูเหมือนมีประโยชน์ แต่แท้ที่จริงก่อให้เกิดความเสียหายเมื่อรันโปรแกรม หรือติดตั้งบนคอมพิวเตอร์ ผู้ที่ได้รับไฟล์โทรจันมักถูกหลอกลวงให้เปิดไฟล์ดังกล่าว โดยหลงคิดว่าเป็นซอฟต์แวร์ถูกกฎหมาย หรือไฟล์จากแหล่งที่ถูกต้องตามกฎหมาย เมื่อไฟล์ถูกเปิดอาจส่งผลลัพธ์หลายรูปแบบ เช่น สร้างความรำคาญด้วยการเปลี่ยนหน้าจอ สร้างไอคอนที่ไม่จำเป็น จนถึงขั้นลบไฟล์และทำลายข้อมูล                                                              
           1.1.4 Backdoor แปลเป็นไทยก็คือประตูหลัง ที่เปิดทิ้งไว้ให้บุคคลอื่นเดินเข้านอกออกในบ้านได้โดยง่ายซึ่งเป็นช่องทางลัดที่เกิดจากช่องโหว่ของระบบ ทำให้ผู้ไม่มีสิทธิเข้าถึงระบบหรือเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อทำการใดๆ                 
           1.1.5 สปายแวร์ (Spyware) คือมัลแวร์ชนิดหนึ่งที่ติดตั้งบนเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วทำให้ล่วงรู้ข้อมูลของผู้ใช้งานได้โดยเจ้าของเครื่องไม่รู้ตัว สามารถเฝ้าดูการใช้งานและรวบรวมข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ได้ เช่น นิสัยการท่องเน็ต และเว็บไซต์ที่เข้าชม ทั้งยังสามารถเปลี่ยนค่าที่ตั้งไว้ของคอมพิวเตอร์ ส่งผลให้ความเร็วในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตช้าลง เป็นต้น                                           
1.2 การโจมตีแบบ DoS/DDos คือการพยายามโจมตีเพื่อทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทางหยุดทำงาน หรือสูญเสียเสถียรภาพ หากเครื่องต้นทาง(ผู้โจมตี) มีเครื่องเดียว เรียกว่าการโจมตีแบบ Denial of Service (DoS) แต่หากผู้โจมตีมีมากและกระทำพร้อมๆ กัน จะเรียกกว่าการโจมตีแบบ Distributed Denial of Service (DDoS) ซึ่งในปัจจุบันการโจมตีส่วนใหญ่มักเป็นการโจมตีแบบ DDoS                                                             
1.3 BOTNET หรือ “Robot network” คือเครือข่ายหุ่นรบที่ถือเป็นสะพานเชื่อมภัยคุกคามทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ด้วยมัลแวร์ทั้งหลายที่กล่าวในตอนต้นต้องการนำทางเพื่อต่อยอดความเสียหาย และทำให้ยากแต่การควบคุมมากขึ้น                                    
1.4 ข้อมูลขยะ (Spam) คือภัยคุกคามส่วนใหญ่ที่เกิดจากอีเมล์หรือเรียกว่า อีเมล์ขยะ เป็นขยะออนไลน์ที่ส่งตรงถึงผู้รับโดยที่ผู้รับสารนั้นไม่ต้องการ และสร้างความเดือดร้อน รำคาญให้กับผู้รับได้  ในลักษณะของการโฆษณาสินค้าหรือบริการ การชักชวนเข้าไปยังเว็บไซต์ต่างๆ ซึ่งอาจมีภัยคุกคามชนิด phishing แฝงเข้ามาด้วย ด้วยเหตุนี้จึงควรติดตั้งระบบ anti-spam หรือใช้บริการคัดกรองอีเมล์ของเว็บไซต์ที่ให้บริการอีเมล์                                       
1.5 Phishing เป็นคำพ้องเสียงกับ “fishing” หรือการตกปลาเพื่อให้เหยื่อมาติดเบ็ด คือ กลลวงชนิดหนึ่งในโลกไซเบอร์ด้วยการส่งข้อมูลผ่านอีเมล์หรือเมสเซนเจอร์ หลอกให้เหยื่อหลงเชื่อว่าเป็นสถาบันการเงินหรือองค์กรน่าเชื่อถือ แล้วทำลิงค์ล่อให้เหยื่อคลิก เพื่อหวังจะได้ข้อมูลสำคัญ เช่น username/password, เลขที่บัญชีธนาคารเลขที่บัตรเครดิต เป็นต้น แต่ลิงค์ดังกล่าวถูกนำไปสู่หน้าเว็บเลียนแบบ หากเหยื่อเผลอกรอกข้อมูลส่วนตัวลงไป มิจฉาชีพสามารถนำข้อมูลไปหาประโยชน์ในทางมิชอบได้                                                                   
1.6 Sniffing เป็นการดักข้อมูลที่ส่งจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งบนเครือข่ายในองค์กร (LAN) เป็นวิธีการหนึ่งที่นักโจมตีระบบนิยมใช้ดักข้อมูลเพื่อแกะรหัสผ่านบนเครือข่ายไร้สาย (Wirdless LAN) และดักข้อมูล User/Password ของผู้อื่นที่ไม่ได้ผ่านการเข้ารหัส

การโจมตีเครือข่าย
            แม้ว่าระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ จะเป็นเทคโนโลยีที่น่าอัศจรรย์ แต่ก็ยังมีความเสี่ยงอยู่มากถ้าไม่มีการควบคุมหรือป้องกันที่ดี การโจมตีหรือการบุกรุกเครือข่าย หมายถึง ความพยายามที่จะเข้าใช้ระบบ (Access Attack) การแก้ไขข้อมูลหรือระบบ (Modification Attack) การทำให้ระบบไม่สามารถใช้การได้ (Deny of Service Attack) และการทำให้ข้อมูลเป็นเท็จ (Repudiation Attack) ซึ่งจะกระทำโดยผู้ประสงค์ร้าย ผู้ที่ไม่มีสิทธิ์ หรืออาจเกิดจากความไม่ได้ตั้งใจของผู้ใช้เองต่อไปนี้เป็นรูปแบบต่าง ๆ ที่ผู้ไม่ประสงค์ดีพยายามที่จะบุกรุกเครือข่ายเพื่อลักลอบข้อมูลที่สำคัญหรือเข้าใช้ระบบโดยไม่ได้รับอนุญาต

1.แพ็กเก็ตสนิฟเฟอร์
ข้อมูลที่คอมพิวเตอร์ส่งผ่านเครือข่ายนั้นจะถูกแบ่งย่อยเป็นก้อนเล็ก ๆ ที่เรียกว่า “แพ็กเก็ต (Packet)” แอพพลิเคชันหลายชนิดจะส่งข้อมูลโดยไม่เข้ารหัส (Encryption) หรือในรูปแบบเคลียร์เท็กซ์ (Clear Text)   

2.ไอพีสปูฟิง
ไอพีสปูฟิง (IP Spoonfing)หมายถึง การที่ผู้บุกรุกอยู่นอกเครือข่ายแล้วแกล้งทำเป็นว่าเป็นคอมพิวเตอร์ที่เชื่อถือได้ (Trusted) โดยอาจจะใช้ไอพีแอดเดรสเหมือนกับที่ใช้ในเครือข่าย หรืออาจจะใช้ไอพีแอดเดรสข้างนอกที่เครือข่ายเชื่อว่าเป็นคอมพิวเตอร์ที่เชื่อถือได้ หรืออนุญาตให้เข้าใช้ทรัพยากรในเครือข่ายได้ 


3.การโจมตีรหัสผ่าน
การโจมตีรหัสผ่าน (Password Attacks) หมายถึงการโจมตีที่ผู้บุกรุกพยายามเดารหัสผ่านของผู้ใช้คนใดคนหนึ่ง ซึ่งวิธีการเดานั้นก็มีหลายวิธี เช่น บรู๊ทฟอร์ช (Brute-Force) ,โทรจันฮอร์ส (Trojan Horse) , ไอพีสปูฟิง , แพ็กเก็ตสนิฟเฟอร์ เป็นต้น                              

4.การโจมตีแบบ Man-in-the-Middle 
การโจมตีแบบ Man-in-the-Middle นั้นผู้โจมตีต้องสามารถเข้าถึงแพ็กเก็ตที่ส่งระหว่างเครือข่ายได้ เช่น ผู้โจมตีอาจอยู่ที่ ISP ซึ่งสามารถตรวจจับแพ็กเก็ตที่รับส่งระหว่างเครือข่ายภายในและเครือข่ายอื่น ๆ โดยผ่าน ISP การโจมตีนี้จะใช้ แพ็กเก็ตสนิฟเฟอร์เป็นเครื่องมือเพื่อขโมยข้อมูล หรือใช้เซสซั่นเพื่อแอ็กเซสเครือข่ายภายใน หรือวิเคราะห์การจราจรของเครือข่ายหรือผู้ใช้

5.การโจมตีแบบ DOS
การโจมตีแบบดีไนล์ออฟเซอร์วิส หรือ DOS (Denial-of Service) หมายถึง การโจมตีเซิร์ฟเวอร์โดยการทำให้เซิร์ฟเวอร์นั้นไม่สามารถให้บริการได้ ซึ่งปกติจะทำโดยการใช้รีซอร์สของเซิร์ฟเวอร์จนหมด หรือถึงขีดจำกัดของเซิร์ฟเวอร์ ตัวอย่างเช่น เว็บเซิร์ฟเวอร์ และเอฟทีพีเซิร์ฟเวอร์ การโจมตีจะทำได้โดยการเปิดการเชื่อมต่อ (Connection) กับเซิร์ฟเวอร์จนถึงขีดจำกัดของเซิร์ฟเวอร์ ทำให้ผู้ใช้คนอื่น ๆ ไม่สามารถเข้ามาใช้บริการได้

6.โทรจันฮอร์ส เวิร์ม และไวรัส                                                                                                            คำว่า “โทรจันฮอร์ส (Trojan Horse)” นี้เป็นคำที่มาจากสงครามโทรจัน ระหว่างทรอย (Troy) และกรีก (Greek) ซึ่งเปรียบถึงม้าโครงไม้ที่ชาวกรีกสร้างทิ้งไว้แล้วซ่อนทหารไว้ข้างในแล้วถอนทัพกลับ พอชาวโทรจันออกมาดูเห็นม้าโครงไม้ทิ้งไว้ และคิดว่าเป็นของขวัญที่กรีซทิ้งไว้ให้ จึงนำกลับเข้าเมืองไปด้วย พอตกดึกทหารกรีกที่ซ่อนอยู่ในม้าโครงไม้ก็ออกมาและเปิดประตูให้กับทหารกรีกเข้าไปทำลายเมืองทรอย สำหรับในความหมายของคอมพิวเตอร์แล้ว โทรจันฮอร์ส หมายถึงดปรแกรมที่ทำลายระบบคอมพิวเตอร์โดยแฝงมากับโปรแกรมอื่น ๆ เช่น เกม สกรีนเวฟเวอร์ เป็นต้น


วิธีป้องกันตนเองจากภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ต


สำหรับการใช้งานส่วนบุคคล มีดังนี้
       1. การตั้งสติก่อนเปิดเครื่อง ต้องรู้ตัวก่อนเสมอว่าเราอยู่ที่ไหน ที่นั่นปลอดภัยเพียงใด– ก่อน login เข้าใช้งานคอมพิวเตอร์ต้องมั่นใจว่าไม่มีใครแอบดูรหัสผ่านของเรา
            เมื่อไม่ได้อยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ ควรล็อกหน้าจอให้อยู่ในสถานะที่ต้องใส่ค่า login
            ตระหนักอยู่เสมอว่าข้อมูลความลับและความเป็นส่วนตัวอาจถูกเปิดเผยได้เสมอในโลกออนไลน์
       2. การกำหนด password ที่ยากแก่การคาดเดา ควรมีความยาวไม่ต่ำกว่า 8 ตัวอักษร และใช้อักขระพิเศษไม่ตรงกับความหมายในพจนานุกรม เพื่อให้เดาได้ยากมากขึ้นและการใช้งานอินเทอร์เน็ตทั่วไป 
       3. การสังเกตขณะเปิดเครื่องว่ามีโปรแกรมไม่พึงประสงค์ถูกเรียกใช้ขึ้นมาพร้อมๆ กับการเปิดเครื่องหรือไม่ ถ้าสังเกตไม่ทันให้สังเกตระยะเวลาบูตเครื่อง หากนานผิดปกติอาจเป็นไปได้ว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ติดปัญหาจากไวรัส หรือภัยคุกคามรูปแบบต่างๆ ได้
       4. การหมั่นตรวจสอบและอัพเดท OS หรือซอฟต์แวร์ที่ใช้ให้เป็นปัจจุบัน โดยเฉพาะโปรแกรมป้องกันภัยในเครื่องคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ควรอัพเดทอินเทอร์เน็ตเบราเซอร์ให้ทันสมัยอยู่เสมอ
       5. ไม่ลงซอฟต์แวร์มากเกินความจำเป็น ซอฟต์แวร์ที่จำเป็นต้องลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ ได้แก่– อินเทอร์เน็ตเบราเซอร์ เพื่อให้เปิดเว็บไซต์ต่างๆ
            อีเมล์เพื่อใช้รับส่งข้อมูลและติดต่อสื่อสาร– โปรแกรมสำหรับงานด้านเอกสารโปรแกรมตกแต่งภาพ เสียง วีดีโอ
            โปรแกรมป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์และโปรแกรมไฟร์วอลล์
ซอฟต์แวร์ที่ไม่ควรมีบนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งาน ได้แก่– ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการ Crack โปรแกรม
            ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปที่ใช้ในการโจมตีระบบเจาะระบบ (Hacking Tools)
            โปรแกรมที่เกี่ยวกับการสแกนข้อมูล การดักรับข้อมูล (Sniffer) และอื่นๆ ที่อยู่ในรูปซอฟต์แวร์สำเร็จรูปที่ไม่เป็นที่รู้จัก
            ซอฟต์แวร์ที่ใช้หลบหลีกการป้องกัน เช่น โปรแกรมซ่อน IP Address
       6. ไม่ควรเข้าเว็บไซต์เสี่ยงภัยเว็บไซต์ประเภทนี้ ได้แก่– เว็บไซต์ลามก อนาจาร– เว็บไซต์การพนัน– เว็บไซต์ที่มีหัวเรื่อง “Free” แม้กระทั่ง Free Wi-Fi
            เว็บไซต์ที่ให้ดาวน์โหลดโปรแกรมที่มีการแนบไฟล์พร้อมทำงานในเครื่องคอมพิวเตอร์
            เว็บไซต์ที่แจก Serial Number เพื่อใช้ Crack โปรแกรม
            เว็บไซต์ที่ให้ดาวน์โหลดเครื่องมือในการเจาะระบบ
       7. สังเกตความปลอดภัยของเว็บไซต์ที่ให้บริการธุรกรรมออนไลน์ เว็บไซต์ E-Commerce ที่ปลอดภัยควรมีการทำ HTTPS มีใบรับรองทางอิเล็กทรอนิกส์ และมีมาตรฐานรองรับ
       8. ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวลงบนเว็บ Social Network ชื่อที่ใช้ควรเป็นชื่อเล่นหรือฉายาที่กลุ่มเพื่อนรู้จัก และไม่ควรเปิดเผยข้อมูลดังต่อไปนี้ เลขที่บัตรประชาชน เบอร์โทรศัพท์ หมายเลขบัตรเครดิต หมายเลขหนังสือเดินทาง ข้อมูลทางการแพทย์ ประวัติการทำงาน
       9. ศึกษาถึงข้อกฎหมายเกี่ยวกับการใช้สื่ออินเทอร์เน็ต ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 โดยมีหลักการง่ายๆ ที่จะช่วยให้สังคมออนไลน์สงบสุข คือให้คำนึงถึงใจเขาใจเรา
      10. ไม่หลงเชื่อโดยง่าย อย่าเชื่อในสิ่งที่เห็น และงมงายกับข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต ควรหมั่นศึกษาหาความรู้จากเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต และศึกษาข้อมูลให้รอบด้าน ก่อนปักใจเชื่อในสิ่งที่ได้รับรู้


การรักษาความปลอดภัยบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 

( Internet Security )



ปรัชญาความปลอดภัยในอินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ตมีความปลอดภัยมากน้อยเพียงใด? คำถามนี้ดูเหมือนจะตอบโดยรวมได้ยาก เนื่องจากขอบเขตของอินเทอร์เน็ตครอบคลุมเครือข่ายจำนวนมากมาย บางเครือข่ายมีระบบรักษาความปลอดภัยอย่างเข็มงวดแม้มืออาชีพก็ยากที่จะบุกรุก บางเครือข่ายอาจไม่มีระบบป้องกันใด ๆ แครกเกอร์มือสมัครเล่นอาจเข้าไปสร้างความยุ่งยากได้ ระบบคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ในอินเทอร์เน็ตที่ทำหน้าที่เป็นตัวให้บริการข้อมูลมักทำงานภายใต้ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ คำถามสำคัญต่อมาก็คือยูนิกซ์เป็นระบบที่มีความปลอดภัยเพียงใด
ยูนิกซ์เป็นระบบปฏิบัตการที่แรกเริ่มออกแบบขึ้นเพื่อการสื่อสารและแลกเปลี่ยนทรัพยากรข้อมูลระหว่างเครื่องโดยไม่เน้นถึงเรื่องความปลอดภัยของข้อมูล จนกระทั่งเมื่อแพร่หลายออกไปสู่ภาคธุรกิจจึงได้ปรับปรุงให้มีกลไกด้านการรักษาความปลอดภัยเพิ่มขึ้น แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่ายูนิกซ์เป็นระบบปฏิบัติการที่มีความปลอดภัยน้อยกว่าระบบปฏิบัติการอื่น ๆ เนื่องจากธรรมชาติของระบบปฏิบัติการแบบเปิดหรือกึ่งเปิดที่มีให้เลือกใช้อย่างแพร่หลายย่อมจะมีช่องทางให้ค้นหาจุดอ่อนด้านความปลอดภัยได้ง่าย
หากจะขีดวงจำกัดอยู่เฉพาะในระบบปฎิบัติการยูนิกซ์เพียงอย่างเดียวและแยกพิจารณาถึงยูนิกซ์เชิงการค้า เช่น โซลาริส เอไอเอ็กซ์ เอชพี-ยูเอ็กซ์ ไอริกซ์ หรืออัลทริกซ์ กับยูนิกซ์ที่เป็นสาธารณะ เช่น ลีนุกซ์ หรือฟรีบีเอสดี ก็ไม่สามารถสรุปได้ว่ายูนิกซ์เชิงการค้ามีความปลอดภัยสูงกว่ายูนิกซ์ที่เป็นสาธารณะ แต่เนื่องจากรูปแบบที่มีให้บริการอย่างหลากหลายเมื่อมองโดยภาพรวมแล้วจึงกล่าวได้ว่าความปลอดภัยในยูนิกซ์มีจุดอ่อนให้โจมตีได้มาก การระมัดระวังรักษาความปลอดภัยในระบบเครือข่ายจึงไม่ใช่เพียงแต่พึ่งพาขีดความสามารถของระบบปฏิบัติการเท่านั้นแต่ยังต้องการ นโยบายรักษาความปลอดภัย (Security Policy) ซึ่งเป็นตัวกำหนดขอบเขตการใช้งานและมาตรการดำเนินการรักษาความปลอดภัยโดยรวมทั้งระบบ

รูปแบบการโจมตีทางเครือข่าย
นอกเหนือไปจากการหาช่องโหว่หรือข้อบกพร่องของซอฟต์แวร์ที่ให้บริการในเซิร์ฟเวอร์และเจาะเข้าสู่ระบบโดยได้สิทะผู้ใช้ระดับสูงสุดแล้ว แครกเกอร์มักใช้วิธีโจมตีเพื่อสร้างปัญหากับระบบในรูปแบบต่าง ๆ ที่จัดออกได้เป็นกลุ่มดังนี้

ทำลายระบบ (destructive method)
วิธีนี้คือการใช้ซอฟต์แวร์เข้ามาก่อกวนหรือสร้างภาระงานหนักให้ระบบ เช่น ใช้โปรแกรมสร้างภาระให้เราเตอร์หรือเมล์เซิร์ฟเวอร์หยุดการทำงานจนกระทั่งผู้ใช้ไม่สามารถเข้าใช้บริการได้ วิธีนี้ถึงแม้ไม่ได้บุกรุกเข้ามาเพื่อให้ได้สิทธิ์การใช้ระบบ แต่ก็สร้างปัญหาให้ระบบไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ กรรมวิธีที่นิยมใช้โดยทั่วไปคือ- การส่งอีเมล์ขนาดใหญ่จำนวนมาก หรือ เมล์บอมบ์(mail bomb) ผู้เปิดอ่านจดหมายจะเสียเวลาอย่างมากเมื่อต้องอ่านจดหมายซึ่งอาจมีจำนวนมหาศาลและมีขนาดใหญ่ เซิร์ฟเวอร์ที่ถูกโจมตีด้วยเมล์บอมบ์ปริมาณมากมักหยุดการทำงานลงในชั่วระยะเวลาสั้น ๆ เนื่องจากต้องใช้ทรัพยากรระบบในการรับจดหมายที่เข้ามา วิธีการป้องกันการโจมตีด้วยเมล์บอมบ์มีหลายวิธี เช่น ติดตั้งเมล์ที่จำกัดขนาดที่จะรับการติดตั้งตัวกรองเมล์ และการตรวจจับและกำจัดเมล์ที่ได้รับ เป็นต้น- การโจมตีจุดบกพร่องแบบ ดอส (Dos : Denial-of-Service) แครกเกอร์ใช้วิธีเข้าไปขอใช้บริการที่เครือข่ายมีให้ โดยการของจองทรัพยากรที่มีในระบบแบบสะสมด้วยอัตราที่รวดเร็วจนกระทั่วระบบไม่มีทรัพยากรเหลือเพื่อให้บริการผู้ใช้รายอื่น วิธีการที่นิยมใช้คือการสร้างแพ็กเกตขอเชื่อมต่อโปรโตคอลทีซีพีจำนวนมาก(เรียกว่า TCP SYN Flooding) หรือการสร้างแพ็กเกตขนาดใหญ่ส่งไปยังบริการไอซีเอ็มพีด้วยคำสั่ง ping (เรียกว่า ping of death) การแก้ปัญหาการโจมตีแบบนี้จะต้องติดตั้งซอฟต์แวร์ทีซีพีซึ่งไม่กันทรัพยากรระบบไว้นานเกินไปนอกจากนี้ยังมีการโจมตีในลักษณะอื่นที่เป็นที่รู้จักในหมู่แครกเกอร์ เช่น Teardrop,LAND,หรือ Winnuke เป็นต้น

การโจมตีแบบรูทฟอร์ซ (brute-force attack)
ผู้บุกรุกจะใช้โปรแกรมเชื่อมต่อด้วยเทลเน็ตไปยังเซิร์ฟเวอร์ปลายทาง โปรแกรมจะคาดเดาชื่อบัญชีจากชื่อมาตรฐานทั่วไปที่มีอยู่และสร้างรหัสผ่านขึ้นมาเพื่อเข้าใช้บัญชีนั้นโดยอัตโนมัติ โปรแกรมจะมีดิคชันนารีเพื่อเป็นฐานสำหรับใช้สร้างรหัสผ่านที่ตรงกับชื่อบัญชีหรือรหัสที่เขียนย้อนกลับ หรือรหัสผ่านที่เป็นคำที่พบได้ในดิคชันนารี หรือคำประสม เป็นต้น การโจมตีแบบนี้มักนิยมใช้ในหมู่แครกเกอร์มือใหม่เนื่องจากมีเครื่องมือที่หาได้ง่ายและใช้งานสะดวกแต่ก็เป็นวิธีที่ตรวจสอบและค้นหาต้นตอได้ง่ายเช่นกันเนื่องจากเซิร์ฟเวอร์ปลายทางจะมีระบบบันทึกการเข้าใช้งานทั้งที่สำเร็จและไม่สำเร็จ

การโจมตีแบบพาสซีพ (passive attack)
แครกเกอร์อาจไม่จำเป็นต้องใช้วิธีเจาะเข้าไปยังเครื่องปลายทางโดยตรง หากแต่ติดตั้งโปรแกรมตรวจจับแพ็กเกต (packet sniffing) ไว้ในที่ใดที่หนึ่ง (หรือที่รู้จักกันดีในชื่อของสนิฟเฟอร์) เมื่อมีการเชื่อมขอใช้บริการไปยังเซิร์ฟเวอร์อื่น ชื่อบัญชีและรหัสผ่านที่ป้อนผ่านแป้นพิมพ์จะถูกบันทึกเก็บไว้และรายงานไปยังแครกเกอร์เนื่องจากข้อมูลที่วิ่งอยู่ในเครือข่ายนั้นมักเป็นข้อมูลดิบที่ไม่มีการเข้ารหัสลับ แครกเกอร์สามารถจะดักจับรหัสผ่านของทุกคนที่เข้าใช้งานระบบได้ไม่เว้นแม้แต่ผู้ดูแลระบบเองไม่ว่าผู้ใช้ใดจะเปลี่ยนรหัสผ่านไปกี่ครั้งก็ตาม แครกเกอร์ก็จะได้รหัสใหม่นั้นทุกครั้ง เทคนิคของการใช้สนิฟเฟอร์จำเป็นต้องใช้ความรู้ขั้นก้าวหน้าขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง โดยปกติแล้วการตรวจหาว่าเซิร์ฟเวอร์มีสนิฟเฟอร์ซ่อนอยู่หรือไม่อาจทำได้โดยไม่ยากนัก แต่แครกเกอร์ที่เชี่ยวชาญมักวางหมากขั้นที่สองโดยการเปลี่ยนแปลงโปรแกรมตรวจสอบเพื่อไม่ให้รายงานผลว่ามีสนิฟเฟอร์ซ่อนอยู่ วิธีการป้องกันสนิฟเฟอร์อีกรูปแบบหนึ่งก็คือการใช้เซลล์ที่ผ่านการเข้ารหัสลับทำให้ไม่สามารถนำดูข้อมูลดิบได้

กล่องเครื่องมือแครกเกอร์
        เทคนิคการเจาะเข้าสู่ระบบยูนิกซ์มีตั้งแต่วิธีพื้น ๆ ที่ไม่ได้ใช้เทคนิคหรือเครื่องใด เรื่อยไปจนกระทั่งเทคนิคที่ซับซ้อน แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าพวกแครกเกอร์เพียงแต่ใช้วิธีพื้นฐานง่าย ๆ ก็สามารถเจาะเข้าสู่ระบบได้

เดาสุ่มทุกทาง
ด่านสำคัญในการเข้าสู่ยูนิกซ์คือรหัสผ่านซึ่งเก็บอยู่ในแฟ้ม /etc/passwd รหัสผ่านในแฟ้มนี้จะผ่านการเข้ารหัสลับทำให้ไม่ทราบถึงรหัสต้นฉบับได้ แต่แฟ้ม /etc/passwd ไม่ได้เป็นแฟ้มลับ ในทางตรงข้ามกลับเปิดโอกาสให้ผู้ใช้ทุกคนเปิดอ่านได้ แครกเกอร์ซึ่งได้แฟ้มรหัสผ่านจะนำแฟ้มไปผ่านโปรแกรมวิเคราะห์หารหัส โดยตัวโปรแกรมจะสร้างรหัสต้นฉบับขึ้นมาจากดิคชันนารีที่มีอยู่ในระบบ (เช่นในยูนิกซ์คือ /usr/dict แล้วเข้ารหัสเพื่อนำผลที่ได้ไปเปรียบเทียบกับรหัสใน /etc/passwdโปรแกรมแกะรหัสผ่านเป็นโปรแกรมเขียนได้ง่ายต้นฉบับโปรแกรมภาษาซีอาจมีความยาวเพียง 60-70 บรรทัด อีกทั้งยังมีโปรแกรมสำเร็จที่เผยแพร่ในอินเทอร์เน็ตอยู่แล้วเช่น crack (ftp://ftp.cert.opg/pub/tools/crack)crack สร้างขึ้นเพื่อจุดประสงค์ให้ดูแลระบบใช้วิเคราะห์หาว่าผู้ใช้รายใดตั้งรหัสผ่านง่ายเกินไป แต่ก็มีผู้นำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ หนทางที่ป้องกันได้ส่วนหนึ่งก็คือผู้ใช้ทุกคนจะต้องเรียนรู้หลักการและตั้งรหัสผ่านที่คาดเดาได้ยากยูนิกซ์ในระบบ System V จะใช้วิธีแยกเอาส่วนของรหัสผ่านไปเก็บไว้ในแฟ้มต่างหากอีกแฟ้มหนึ่งที่ไม่อนุญาตให้ผู้ใช้ทั่วไปอ่านได้ กรรมวิธีแบบนี้เรียกว่าระบบ “shadow password”

สนิฟเฟอร์
สนิฟเฟอร์เป็นชื่อเครื่องหมายทางการค้าของระบบตรวจจับแพ็กเกตเพื่อนำมาวิเคราะห์และตรวจหาปัญหาในเครือข่าย ตัวระบบจะประกอบด้วยคอมพิวเตอร์ที่มีการ์ดเครือข่ายสมรรถนะสูงและซอฟต์แวร์ตรวจวิเคราะห์แพ็กเกต แต่ในปัจจุบันมีซอฟต์แวร์จำนวนมากที่มีขีดความสามารถระดับเดียวกับสนิฟเฟอร์ และทำงานได้โดยไม่ต้องพึ่งฮาร์ดแวร์เฉพาะ อีกทั้งมีแพร่หลายในแทบทุกระบบปฎิบัติการ ชื่อสนิฟเฟอร์ในปัจจุบันจึงนิยมใช้เป็นชื่อเรียกของโปรแกรมใด ๆ ที่สามารถตรวจจับและวิเคราะห์แพ็กเกตไปโดยปริยาย

จารชนอินเทอร์เน็ต
ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตแรกเริ่มนั้นจำกัดอยู่เพียงกลุ่มนักวิชาการ ตราบกระทั่งเครือข่ายขยายออกไปทั่วโลกเปิดโอกาสให้บุคคลทุกระดับทุกอาชีพมีสิทธิ์เป็นสมาชิกคนหนึ่งในสังคมอินเทอร์เน็ตได้ ความปลอดภัยของข้อมูลเริ่มเป็นสิ่งที่ต้องระมัดระวังมากยิ่งขึ้น ในระยะเวลาที่ผ่านมามีการลักลอบเข้าไปใช้เครื่องในศูนย์คอมพิวเตอร์ใหญ่ ๆ หลายต่อหลายครั้ง ถึงแม้ว่าบางครั้งจะจับได้แต่ก็ต้องอาศัยความพยายามและเทคนิคในการสะกดรอยด้วยความยากลำบากกว่าจะทราบได้ว่าจารชนเหล่านี้แฝงกายอยู่ที่มุมใดในโลก
เรามักจะเรียกพวกที่มีความสามารถเจาะเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ว่า “แฮกเกอร์” (Hacker) ซึ่งความหมายดั้งเดิมที่แท้จริงแล้ว แฮกเกอร์สื่อความหมายถึงผู้เชี่ยวชาญด้านโอเอสหรือระบบ สามารถเข้าไปแก้ไข ดัดแปลงการทำงานระดับลึกได้ หรือในสารบบความปลอดภัยแล้ว แฮกเกอร์เป็นอาชีพหนึ่งที่ทำหน้าที่เจาะระบบและค้นหาจุดอ่อนเพื่อหาหนทางแก้ไขป้องกัน ส่วนพวกที่เจาะระบบเข้าไปโดยไม่ประสงค์ดีมีชื่อเรียกโดยเฉพาะว่า “แครกเกอร์” (Cracker) พวกหลังนี้เข้าข่ายจารชนอิเล็กทรอนิกส์ที่มักชอบก่อกวนสร้างความวุ่นวายหรือทำงานเป็นมืออาชีพที่คอยล้วงความลับหรือข้อมูลไปขาย แต่จะทำอย่างไรได้เมื่อคำว่าแฮกเกอร์ใช้ผิดความหมายจนติดปากไปโดยปริยายเสียแล้ว

ม้าโทรจัน
โปรแกรมม้าโทรจันเป็นโปรแกรมที่ลวงให้ผู้ใช้งานเข้าใจผิดว่าเป็นโปรแกรมปกติโปรแกรมหนึ่งที่ใช้งานอยู่เป็นประจำ แต่การทำงานจริงกลับเป็นการดักจับข้อมูลเพื่อส่งไปให้แครกเกอร์ ตัวอย่างเช่นโปรแกรมโทรจันที่ลวงว่าเป็นโปรแกรมล็อกอินเข้าสู่ระบบ เมื่อผู้ใช้ป้อนบัญชีและรหัสผ่านก็จะแอบส่งรหัสผ่านไปให้แครกเกอร์

ประตูกล
แครกเกอร์ใช้ ประตูลับ (backdoors) ซึ่งเป็นวิธีพิเศษเข้าสู่ระบบโดยไม่ได้รับอนุญาต ความหมายของประตูลับอาจรวมไปถึงวิธีการที่ผู้พัฒนาโปรแกรมทิ้งรหัสพิเศษหรือเปิดทางเฉพาะไว้ในโปรแกรมโดยไม่ให้ผู้ใช้ล่วงรู้ แครกเกอร์ส่วนใหญ่จะมีชุดซอฟต์แวร์ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อเจาะเข้าสู่ระบบตามจุดอ่อนที่มีอยู่ด้วยวิธีการต่าง ๆ

ซอฟต์แวร์ตรวจช่วงโหว่ระบบ
ในอินเทอร์เน็ตมีซอฟต์แวร์เป็นจำนวนมากที่ใช้ในการตรวจวิเคราะห์หารูโหว่ของระบบรักษาความปลอดภัยซอฟต์แวร์เหล่านี้เผยแพร่โดยไม่คิดมูลค่าและเป็นเสมือนดาบสองคมที่ทั้งแฮกเกอร์และแครกเกอร์นำไปใช้ด้วยจุดประสงค์ที่ต่างกัน ซอฟต์แวร์ในกลุ่มนี้ซึ่งเป็นที่รู้จักแพร่หลายได้แก่ Internet Security Scanner,SATAN COPS และ Tiger เป็นต้น

การป้องกันและระวังภัย
ในปัจจุบันมีซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์หลากหลายที่ใช้เป็นเครื่องมือรักษาความปลอดภัยในระบบ ตัวอย่างซอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัยเบื้องต้นได้กล่าวไปในหัวข้อที่แล้ว ส่วนซอฟต์แวร์ที่ติดตั้งเป็นระบบรักษาความปลอดภัยที่กำลังเริ่มใช้อย่างแพร่หลายได้แก่ระบบไฟร์วอลล์ (Firewall) ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ทำหน้าที่เสมือนกับกำแพงกันไฟไม่ให้ลุกลามขยายตัวหากมีไฟไหม้เกิดขึ้นไฟร์วอลล์จะอาศัยคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งเป็นด่านเข้าออกเครือข่ายและเป็นเสมือนกำแพงกันไฟ และมีซอฟต์แวร์ที่ผู้ดูแลระบบจะติดตั้งและกำหนดรูปแบบการอนุญาตให้เข้าใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีหน่วยงาน CERT (Computer Emergency Response Team) ทำหน้าที่เป็นเสมือน “ตำรวจอินเทอร์เน็ต” คอยดูแลความปลอดภัยในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทั่วโลก อย่างไรก็ตาม หน่วยงาน CERT ไม่ได้มีอำนาจในการจัดการหรือจับกุมแครกเกอร์ หากเพียงแต่คอยทำหน้าที่เตือนและช่วยเหลือตลอดจนแจ้งข่าวเมื่อพบปัญหาด้านความปลอดภัยในระบบเพื่อให้ผู้ดูแลระบบสามารถแก้ไขได้ทันท่วงที CERT จะประกาศข่าวเตือนภายใต้หัวข้อข่าว Comp.security.announce เป็นประจำ
ไม่ว่าระบบเครือข่ายจะมีฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์ที่ดีเพียงใดในการปกป้องระบบเครือข่าย สิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งก็คือผู้ใช้งานในระบบจะต้องคอยช่วยสอดส่องดูแลและป้องกันไม่ให้ตนเองเป็นช่องทางผ่านของแครกเกอร์ผู้ดูแลระบบจะต้องคอยติดตามและหาวิธีการป้องกันและแก้ไขจุดบกพร่องของซอฟต์แวร์ที่ใช้งาน พึงระลึกไว้ว่าไม่มีระบบเครือข่ายใดที่ปลอดภัยร้อยเปอร์เซ็นต์จากแครกเกอร์



ระบบรักษาความปลอดภัยเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

Firewall
มีหน้าที่ป้องกันการโจมตีหรือสิ่งไม่พึงประสงค์บุกรุคเข้าสู่ระบบ Network ซึ่งเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยภายในระบบ Network เป็นการป้องกันโดยใช้ระบบของ Firewall กำหนดกฏเกณฑ์ควบคุมการเข้า-ออก หรือควบคุมการรับ-ส่งข้อมูล ในระบบ Network

ทำไมต้องมีการติดตั้ง Firewall




ปัจจุบันการเข้าถึงข้อมูลสำคัญในองค์กรสามารถเข้าถึงได้โดยผ่านเครือข่ายต่างๆเช่น Internet หรือเครือข่ายส่วนตรัวเสมือน นอกจากบุคคลากรในองค์กรแล้วผู้ไม่หวังดีต่างๆย่อมต้องการลักลอบหรือโจมตีเพื่อให้เกิดความเสียหายได้เช่นกันดังนั้น Firewall จึงมีบทบาทมากขึ้นในปัจจุบันโดยหน้าที่ของ Firewall ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาและรวมเอาความสามารถหลายๆอย่างเข้ามาด้วย ตัวอย่างหน้าที่ ที่สามารถทำได้เช่น
  • ป้องกันการโจมตีด้วยยิง Traffic
  • ป้องกันไม่ให้เข้าถึงช่องโหว่ที่อาจมีขึ้นที่ server ต่างๆ
  • ป้องกันไม่ให้ข้อมูลรั่วไหลจากบุคคลากรภายใน
  • ควบคุมการใช้งานเฉพาะโปรแกรมที่ต้องการ
  • เก็บ log เพื่อพิสูจน์ตัวตน

 



Log server
ทำไมเราถึงต้องเก็บ log
เนื่องจากโลก Internet เป็นสิ่งที่สามารถปลอมแปลงชื่อหรือตัวตนแยกจากโลกความเป็นจริงได้ ทำให้เกิดปัญหาไม่สามารถหาผู้กระทำความผิดได้ในกรณีที่เกิดปัญหาต่างๆ จึงได้จัดตั้ง พรบ. ว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ที่ได้เล็งเห็นถึงโทษที่เกิดจากภัยคุกคาม บนระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งทุกองค์กรจะต้องมีการเก็บ log ที่สามารถตรวจสอบและโยงไปสู่ผู้กระทำผิดได้




VPN
ในอดีตการเชื่อต่อสาขาแต่ล่ะที่เข้าด้วยกันจำเป็นต้องใช้งบประมาณเป็นจำนวนมาก ในปัจจุบันมีเทคโนโลยี VPN เข้ามาช่วยทำให้เสมือนแต่ล่ะสาขาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน สิ่งที่ VPN ทำนั้นจะสร้างท่อเชื่อมกันระหว่างสองสาขาและส่งข้อมูลผ่านท่อที่สร้างขึ้น client ที่จะใช้งานข้ามสาขาไม่จำเป็นต้องปรับแต่งเพื่อให้ใช้งาน vpn และสามารถที่จะใช้งานได้ทันทีที่มีการเชื่อมต่อ vpn media หนึ่งที่รองรับการทำงานด้วย vpn คือ internet


 VPN

Web Filtering
เป็นบริการที่ช่วยให้ธุรกิจหรือองค์กรควบคุมพฤติกรรมในการเข้าใช้อินเทอร์เน็ตจากในองค์กร และให้เหมาะสมกับนโยบายและลดค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการใช้งานที่ไม่จำเป็นต่อองค์กรและไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายกับ Internet bandwidth ในการใช้งานเว็บไซต์ที่ไม่จำเป็น หรือในกรณีที่ต้องการควบคุมการใช้งานอินเทอร์เน็ตให้เหมาะกับกลุ่มผู้ใช้ในองค์กร   ทั้งเป็นการประหยัดเวลาของผู้ดูแลระบบ หรือ IT Manager ในการ add block list ที่ router หรือ proxy ซึ่งจะช่วยกรองและบล็อคเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม หรือไม่ต้องการให้เข้าไปใช้งาน ยกตัวอย่างเช่น องค์กรต้องการบล็อคเว็บไซต์ที่ไม่พึงประสงค์ เพื่อการบริหารจัดการ การใช้ช่องสัญญาณอินเทอร์เน็ตภายในองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


 

ANTI-VIRUS
(Virus) หรือ ไวรัสคอมพิวเตอร์ ถือเป็นปัญหาหนึ่งที่สร้างความเสียหายมากที่สุดให้กับผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ระดับ PC จนถึง ระดับ Network ที่มีขนาดใหญ่ โดยมีการโจมตีแบบ phishing ไวรัส สแปม และอื่นๆ อีกมากมายซึ่งทำให้เกิดผลกระทบและสร้างความเสียหายให้กับคอมพิวเตอรืส่วนบุคคลและผู้ประกอบธุรกิจ จึงควรมีการรักษาความปลอดภัย ที่จะช่วยปกป้องข้อมูลและระบบของคุณให้ปลอดภัยจากการคุกคามบนอินเทอร์เน็ต




 



ที่มา :  http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/network/safety.htm
 http://www.optimized.co.th/th/products/internet_security.php